ประโยชน์จากการนอนกลางวัน

ประโยชน์จากการนอนกลางวัน

อาจช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาความเหนื่อยล้า เพิ่มความตื่นตัว ช่วยให้อารมณ์ ความจำ สมรรถภาพ และการตอบสนองดีขึ้น  ทั้งนี้ มีการศึกษาและงานวิจัยบางส่วนชี้ถึงประโยชน์ของการนอนกลางวันไว้ ดังนี้

  1. อาจช่วยให้สมองเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
  2. สมองอาจจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี
  3. อาจช่วยคงประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น
  4. ผู้เชี่ยวชาญบางรายเชื่อว่าหากนอนกลางวันเป็นเวลา 30 นาที อาจช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดและช่วยให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
  5. ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การพักหรือแค่นอนอยู่กับที่แม้ไม่ได้นอนหลับก็อาจช่วยให้อารมณ์ ดีขึ้นได้
  6. ผู้ที่นอนกลางวันเป็นเวลา 45-60 นาที อาจมีความดันโลหิตลดลงหลังจากเผชิญกับความเครียดทางจิตใจ
  7. ในผู้สูงอายุ การนอนกลางวันในช่วงเวลาบ่ายโมงไปจนถึงบ่าย 3 โมง เป็นเวลา 30 นาที พร้อมกับการออกกำลังกายที่พอเหมาะอย่างการเดินหรือการยืดกล้ามเนื้อในตอนเย็น อาจช่วยให้นอนหลับในตอนกลางคืนได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงอาจทำให้มีสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นด้วย
  8. การนอนกลางวันเป็นเวลา 60-90 นาที จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ช่วงหลับตื้นหรือ REM Sleep ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นสมองส่วนจินตนาการและความฝัน ส่งผลให้มีความคิดสร้างสรรค์และคิดหาทางออกของเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
  9. การนอนกลางวันสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน เพราะเด็กในวัยนี้มีความสามารถในการจดจำที่จำกัด โดยพบว่าเด็กที่นอนกลางวันเป็นประจำสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การนอนกลางวันอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียนรู้ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนอีกด้วย

นอนอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ?

การนอนกลางวันเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด อาจมีเทคนิคดังต่อไปนี้

  1. ไม่รับประทานอาหารก่อนนอน เพราะปกติร่างกายจะย่อยอาหารในขณะที่ยืนหรือนั่งอยู่ หากเป็นไปได้ให้รับประทานอาหารก่อนนอนกลางวันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
  2. ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนนอน โดยอาจนอนกลางวันเป็นระยะเวลา 10-30 นาที หรือตามความเหมาะสมและภาวะสุขภาพของตนเอง
  3. ควรนอนหงาย ถอดรองเท้า และปลดเข็มขัดก่อนนอน
  4. อาจสวมใส่ผ้าปิดตาหรือที่อุดหูขณะหลับ เพื่อช่วยให้นอนกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นอนในที่ที่มีสภาพแวดล้อมผ่อนคลาย อย่างห้องที่มืด มีสิ่งกวนใจน้อย เงียบ ไม่มีโทรศัพท์ เสียงดังรบกวน หรือผู้คนพลุกพล่าน มีอุณหภูมิห้องพอเหมาะ รวมทั้งตรวจดูให้แน่ใจว่าสถานที่นั้นปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วย
  6. ไม่ควรนอนหลังจากเวลาบ่าย 3 โมง เพราะอาจทำให้ความอยากนอนในช่วงเวลากลางคืนลดลงได้ ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการนอนกลางวัน คือ ช่วงเวลาบ่าย 2 หรือบ่าย 3 โมง เพราะเป็นช่วงที่คนมักรู้สึกง่วงหลังจากรับประทานอาหารกลางวันและมีความตื่นตัวลดลง รวมทั้งการนอนหลับในช่วงเวลานี้จะรบกวนการนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนได้น้อย อย่างไรก็ตาม แต่ละคนอาจมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนกลางวันแตกต่างกันไปตามตารางเวลานอนและความต้องการในการนอนหลับ
  7. หลังจากตื่นนอน ควรออกไปเดินรับแสงแดดเพื่อตั้งนาฬิกาชีวิตใหม่อีกครั้ง และควรเว้นช่วงให้ร่างกายตื่นตัวก่อนกลับไปทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องอาศัยการตอบสนองแบบฉับพลัน

 

7 ประโยชน์ของการ “นอนกลางวัน”

  1. ลดความเครียด ช่วยให้สมองสดใส คิดงานง่ายขึ้น
  2. เรียกพลังให้สมองตื่นตัวมากขึ้น ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. พักผ่อนได้ทั้งสมอง ร่างกาย และหัวใจ ไม่ให้ทำงานเหนื่อยจนเกินไป
  4. เพิ่มความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เช่น ทำงานต่อ ไปออกกำลังกาย
  5. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  6. เพิ่มความไวต่อการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
  7. เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของสมอง ถ้าไปประชุมทั้งๆ ที่ยังง่วง รับรองว่าออกมาลืมหมดแน่นอน

 

วิธีแอบงีบนอนกลางวันให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ

  1. ไม่ควรงีบหลับเกิน 20 นาที เพราะจะทำให้อ่อนเพลีย หรือง่วงกว่าเดิม
  2. ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การงีบหลับ คือ 13.00-15.00 น.
  3. ถึงแม้ว่าจะงีบหลับแค่ไม่กี่นาที แต่หากหลับในห้องที่ปิดประตูเงียบ ปิดไฟมืด จะให้ประสิทธิภาพในการงีบหลับดีขึ้นที่มา

ที่มาข้อมูล

แชร์เลย