การประเมิน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี ปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2563

ชื่อโครงการวิจัย

  • การประเมิน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี ปีงบประมาณ พ..2562-2563
  • Technology Assessment of Matrix program in Thanyarak Pattani Hospital, in 2019-2020

ผู้วิจัย

  • นริศรา งามขจรวิวัฒน์
  • สุนทรพจน์ ชูช่วย
  • สุพิศพร แก้วชื่น

บทคัดย่อ

การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดในประเทศไทย มีรูปแบบการบำบัดที่หลากหลาย แต่ที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่แพร่หลายมากที่สุดคือ รูปแบบการบำบัด กาย จิต สังคมบำบัด(Matrix program) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นการให้องค์ความรู้ (Cognitive Domain) ต่างๆที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ในประเทศไทยมีการนำรูปแบบมาใช้ตั้งแต่ปี พ..2543 ปัจจุบันรูปแบบได้มีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ผลลัพธ์ที่ได้จากการบำบัดจึงค่อนข้างมีความหลากหลาย งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการนำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) มาใช้ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี โดยอาศัยแนวคิดการประเมินผลแบบ CIPP ของ
แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม มีการกำหนดและสร้างตัวชี้วัด กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1.ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี รูปแบบผู้ป่วยนอกที่ใช้ Matrix program 2.ผู้ให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) 3.ผู้ปกครองที่เป็นญาติสายตรง/ผู้ที่ให้การดูแลโดยตรง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน การสังเกตการณ์ประจำวัน และแบบวัดความรู้ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีเชิงปริมาณ โดยหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean)

ผลการศึกษาพบปัญหาสำคัญ ดังนี้ 1.การประเมินปัจจัยดำเนินการ พบว่า ความพร้อมของสถานที่และอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะ ความพร้อมและความเหมาะสมของสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ให้ความรู้ โดยเฉพาะสื่อ VDO ที่ทันสมัย ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 2.การประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ความรู้ของอาสาสมัครวิจัย และการเสพซ้ำของผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัด ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 3.การประเมินผลการดำเนินการ พบว่า ผลลัพธ์ความสำเร็จจากการติดตามผู้ป่วย ยังไม่ผ่านเกณฑ์ งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ทราบถึงความเหมาะสมและปัญหาที่พบจากการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการนำข้อมูลไปปรับปรุงกระบวนการให้บริการ หรือนำไปสู่งานวิจัยภายในและภายนอกโรงพยาบาลต่อไป

Abstract

Drug addiction treatment in Thailand offers a variety of treatment programs. But that is accepted and widely used is Matrix program (physical, psychosocial therapy), which was developed at UCLA, United state of America. This program focuses on the knowledge (Cognitive Domain) essential for patients and their families. In Thailand, the pattern has been used since 2000. Today, the pattern has been applied to suit the context of the area, so the results of the therapy are varied. The objective of this research was to assess the feasibility of applying the Matrix Program in Thanyarak Pattani Hospital based on the CIPP model assessment concept from Daniel L. Stufflebeam that define and establish indicators and determining the study groups consisting of 1. Drug addicts who come for outpatient service at Thanyarak Pattani Hospital and use the Matrix program 2. Matrix Program Therapist 3. Parents who are direct relatives/caregivers. The data was collected from questionnaire, medical record form, daily observation and the knowledge test. Then analyzing the data by means of content analysis and quantitative methods By finding the percentage and mean.

The study results found important problems as follows: 1. Input issues found that the availability of urinary collection location and equipment. The availability and appropriateness of the education media and equipment, especially the modern VDO media, have not yet passed the assessment criteria. 2. Process issues found that the knowledge of the research subjects and drug use among patients receiving treatment, have not yet passed the assessment criteria 3. Product issues found that the success results from patient follow-up, have not yet passed the assessment criteria. This research reveals the suitability and problems of the Matrix Program in Thanyarak Pattani Hospital. Which is the starting point for bringing information to improve the service process or lead to further research inside and outside the hospital.

วิจัยประเมิน Matrix Program 2563

แชร์เลย